ChatGPT เป็นแชทบอทที่มีการเรียนรู้แบบเป็นแพทเทิรน์ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นแชทบอทที่สามารถผลิตคำตอบที่มีความแม่นยำ แต่ว่าหากนำมันมาใช้กับงานเขียนเชิงวิทยาศาสตร์มันอาจจะไม่เหมาะซักเท่าไหร่ วันนี้เราจะพาคุณไปดูเหตุผลเหล่านั้นกัน
ข้อจำกัดในเรื่องความรู้และความคิดสร้างสรรค์
ChatGPT มีข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูลปัจจุบัน เลยเป็นเหตุผลที่ทำให้มันไม่เหมาะเอาซะเลยหากจะใช้มันเขียนเกี่ยวกับบทความเชิงวิทยาศาสตร์ ตัวมันนั้นเรียนรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ บนโลกอินเทอร์เน็ต และสิ่งนี้เองที่ทำให้มันเข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์ของคำและวลี ซึ่งทำให้มันสามารถผลิตคำตอบที่สอดคล้องกับคำถามที่เราป้อนให้มันได้ แต่กลับกันตัวมันเองนั้นก็ยังไม่สามารถที่จะวิเคราะห์หัวข้อต่าง ๆ ได้เหมือนมนุษย์ ว่าง่าย ๆ ก็คือมันยังขาดความคิดสร้างสรรค์แบบที่มนุษย์แบบเรา ๆ ทำได้นั่นเอง
ความยากในการทำความเข้าใจความแตกแตกต่างทางวิทยาศาสตร์
ในขณะที่ ChatGPT สามารถเข้าใจบริบทต่าง ๆ ได้บ้าง แต่หลาย ๆ ครั้งมันก็ยังเกิดการตีความที่ผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง technical terms หรือไอเดียต่าง ๆ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะนำไปสู่ความไม่สมเหตุสมผลและความไม่แม่นยำในคำตอบที่มันผลิตออกมา
ทางเราขอแนะนำเลยว่า การที่จะนำมันมาใช้ในงานเขียนต่าง ๆ นั้นจะต้องมีการตรวจสอบที่เข้มงวดมาก ๆ ว่างานเขียนนั้นเป็นไปตามหลักวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นงานเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่มีความซับซ้อนในเนื้อหา เพราะต้องการความแม่นยำและความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างยิ่งในการนำเสนอข้อมูลและสื่อสารกับผู้อ่าน ดังนั้นการตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งก่อนที่จะนำคำตอบที่มันสร้างขึ้นมาใช้ในงานเขียน
ความท้าทายของมันว่าด้วยเรื่องของการอ้างอิง
แน่นอนเลยว่าการอ้างอิงเป็นสิ่งสำคัญและสำคัญมาก ๆ ในการทำงานวิจัยและเขียนบทความวิทยาศาสตร์ เพราะมันช่วยให้ผู้อ่านสามารถเชื่อถือได้ว่าข้อมูลที่ได้มานั้นเป็นความจริงและสามารถนำไปใช้ได้จริง นอกจากนี้การอ้างอิงยังช่วยให้เราสามารถตรวจสอบได้ว่าข้อมูลที่เราเผยแพร่นั้นเป็นความจริงหรือไม่ ดังนั้นหาก ChatGPTเอง ไม่สามารถอ้างอิงได้อย่างถูกต้องและแม่นยำในบทความเหล่านั้น มันอาจทำให้ผู้อ่านเกิดความไม่ไว้วางใจในคุณภาพของบทความ และอาจส่งผลกระทบต่อผู้อ่านที่ต้องการใช้งานข้อมูลในการศึกษาและวิจัยต่อไป
สรุป
เราควรที่จะเข้าใจก่อนว่า ChatGPT เป็นโมเดลภาษาทั่วไปไม่ใช่โมเดลภาษาสาขาเฉพาะเจาะจง มันสามารถช่วยได้ในเรื่องของการถอดความ ปรับแต่งภาษาให้สละสลวย หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการเปลี่ยน tone ของภาษา และมันอาจจะช่วยในงานเขียนบางส่วนได้ อย่างเช่นบทนำหรือการสรุปบางส่วนได้เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ความรู้และความเข้าใจของมนุษย์นั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในงานเขียนเชิงวิทยาศาสตร์ งานเขียนนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่นการเขียนบทสนทนาเองก็จำเป็นที่จะต้องใช้การคิดวิเคราะห์เชิงลึก และสิ่งนี้พบได้ในมนุษย์อย่างเรา ๆ เท่านั้น เราสามารถมอง ChatGPT ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่เอาไว้เป็นตัวช่วยได้ แต่การที่จะหวังพึ่งมันอย่างเดียวอาจจะเป็นเรื่องที่ผิดมหันต์เลยทีเดียวเชียว