More

    มนุษย์ AI และจิตวิทยาการรู้คิด

    การทดสอบความสามารถในการตั้งคำถามต่อสัญชาตญาณเริ่มต้นของคนมนุษย์เรา นักวิจัยเปรียบเทียบผลลัพธ์ของ GPT-3 กับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์เพื่อพิจารณาว่าโมเดล GPT-3 ทำงานได้ดีเพียงใด

    ปัญญาประดิษฐ์ หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า AI นั้นกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในทุก ๆ วันนี้ AI นั้นถูกนำมาใช้งานในชีวิตประจำวันของเราในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งเสียง การแนะนำบทความต่าง ๆ บนโซเชียลมีเดีย ไปจนถึงการแนะนำสินค้าต่าง ๆ  แม้กระทั่งช่วยในเรื่องของการขับขี่ก็มี  พวกสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มันทำงานได้ดีเทียบเท่ามนุษย์เลยงั้นหรอ ? นี้เป็นคำถามที่เหล่านักจิตวิทยาการรู้คิดจากสถาบัน Max Planck สำหรับไซเบอร์เนติกส์ชีวภาพตั้งอยู่ในเมืองทูบิงเงน เมืองบาเดน-เวิร์ทเทมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี กำลังทำการค้นคว้าและหาคำตอบเหล่านี้อยู่ 

    ในบทความงานวิจัยของพวกเขาที่ถูกตีพิมพ์เมื่อไม่นานมานี้ผ่านทางวารสาร  Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS) ทางทีมวิจัยนั้นอธิบายถึงการที่พวกเขาได้นำ GPT-3 (โมเดลภาษาที่กำลังขับเคลื่อนแพลตฟอร์ม ChatGPT ของ OpenAI) มาทำการทดสอบ การทดสอบเหล่านี้มีตั้งแต่ การประเมินการตัดสินใจ การค้นหาข้อมูล การให้เหตุผล และความสามารถในการตั้งคำถามต่อสัญชาตญาณเริ่มต้นของคนมนุษย์เรา นักวิจัยเปรียบเทียบผลลัพธ์ของ GPT-3 กับผู้เข้าร่วมที่เป็นมนุษย์เพื่อพิจารณาว่าโมเดล GPT-3 ทำงานได้ดีเพียงใด ในขณะที่นักวิจัยต้องการตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบ พวกเขายังตรวจสอบว่า GPT-3 ได้ทำข้อผิดพลาดเหมือนกับมนุษย์ที่เข้าร่วมในการทดสอบด้วยหรือไม่ 

    เมื่อโมเดลภาษาส่วนใหญ่ได้รับการฝึกฝน โมเดลเหล่านั้นจะอาศัยชุดข้อมูลการฝึกที่ครอบคลุม ข้อมูลนี้สามารถรวบรวมได้จากอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นในด้านของ อุตสาหกรรม สถาบันการศึกษา (ในกรณีของ GPT-3) ก่อนที่จะเริ่มการทดสอบ นักวิจัยตั้งสมมติฐานว่า GPT-3 จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีแหล่งข้อมูลหลักมาจากเว็บไซต์บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ GPT-3 เกือบจะเหมือนกับมนุษย์ไปแล้วในด้านของการตัดสินใจ พวกเขาเชื่อว่าอาจจะเป็นเพราะว่าข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่เป็นแหล่งข้อมูลของมันนั้นทำให้มันมีการตัดสินใจที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ 

    สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจจากงานวิจัยนี้ก็คือการที่มนุษย์นั้นมีผลลัพธ์ที่ดีกว่า GPT-3 นักวิจัยสันนิษฐานว่า GPT-3 ใช้ข้อมูลเพียงอย่างเดียวในขณะที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับโลก ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า AI เหล่านั้นยังแตกต่างจากมนุษย์อยู่มากมาย 

    AI นั้นได้ถูกพัฒนามาอย่างดีมาก ๆ แต่มันก็ยังมีอีกหลายต่อหลายเรื่องที่มันยังจำเป็นที่จะต้องถูกพัฒนาอีกไม่ว่าจะเป็นด้าน นิสัยใจคอ ความลำเอียง จุดบอด และการมีปฏิสัมพันธ์ที่กระตือรือร้น หากที่จะอยากให้มันคล้ายคลึงกับมนุษย์มากขึ้น แต่ AI เองก็ถือว่ามาไกลมาก ๆ แล้วหากเทียบกับเมื่อก่อน  

    อ้างอิงจาก: 

    Binz, M., & Schulz, E. (2023). Using cognitive psychology to understand GPT-3. Proceedings of the National Academy of Sciences, 120(6), e2218523120.

    Feher da Silva, C., & Hare, T. A. (2020). Humans primarily use model-based inference in the two-stage task. Nature Human Behaviour, 4(10), 1053–1066.

    Lin, Z., Xu, P., Winata, G. I., Siddique, F. B., Liu, Z., Shin, J., & Fung, P. (2020, April). Caire: An end-to-end empathetic chatbot. In Proceedings of the AAAI conference on artificial intelligence (Vol. 34, №09, pp. 13622–13623).

    Max-Planck-Gesellschaft. (2023, March 1). Artificial Intelligence from a psychologist’s point of view. ScienceDaily. Retrieved March 5, 2023 from 

    RIKI
    RIKI
    นักเขียนหน้าใหม่ผู้ชื่อชอบในเรื่องของเทคโนโลยี และ AI หากคุณเป็นผู้ที่รักในเทคโนโลยี และ นวัตกรรม AI ใหม่ๆ แล้วล่ะก็ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะครับ ;>

    Follow Us

    16,062FansLike
    338FollowersFollow
    0FollowersFollow

    Latest stories

    You might also like...