ในวันที่ 6 มีนาคมนี้เองได้มีบทความหนึ่งที่ถูกเขียนขึ้นบนเว็บไซต์ Medium โดยนักเขียนที่มีนามปากกาว่า YogaMac.ai เขาได้ออกมาแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับ AI ที่น่าสนใจและก็แอบน่ากลัวอยู่ไม่น้อย ในเรื่องที่ว่า AI นั้นกำลังจำกัดความสามารถในการคิดและวิเคราะห์ของมนุษย์อย่างเรา ๆ อยู่หรือเปล่า ?
“ผมเชื่อว่าสัญชาตญาณของมนุษย์เป็นเหมือนพลังวิเศษ ยิ่งเราใช้เครื่องมือเหล่านั้นคิดแทนเรามากแค่ไหน ก็เหมือนกับเรายิ่งจำกัดความสามารถของตนเองลงเรื่อย ๆ”
ในบทความนั้นคุณ YogaMac.ai กล่าวว่าเมื่อไม่นานมานี้ เขาได้อยู่ใน Twitter Spaces คุยเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับ AI อย่างเช่น ChatGPT และอื่น ๆ โดยรวมแล้วก็ถือว่าดีนะ ส่วนใหญ่ก็คุยกันว่าเครื่องมือ AI เหล่านี้มันช่วยให้เราทำงานได้ดีขึ้นแค่ไหน แต่มันก็มีเรื่องที่น่ากลัวอยู่เช่นกันในการที่มันนั้นจำกัดความคิดของสมองเราที่เราใช้สำหรับค้นคว้าเรื่องต่าง ๆ ทั้งเรื่องของการวิเคราะห์ หรือแม้กระทั่งการดึงประสบการณ์ของตนเองออกมาใช้
จริง ๆ แล้วการมีอยู่ของ AI นั้นคือการที่จะมาช่วยในเรื่องขีดจำกัดของมนุษย์ไม่ใช่หรอ ?
เขายังกล่าวอีกว่า “ผมยังจำได้ในตอนที่ Marel Proust (1871–1922) นักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้หมกมุ่นในเรื่องของเวลา และความทรงจำ ได้ค้นพบการทำงานภายในสมองผ่านการไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งและการใคร่ครวญเพียงลำพัง แถบเขายังได้อธิบายส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กระตุ้นให้เกิดความจำใหม่ ๆ อีกด้วย”
นวัตกรรม AI ในยุคปัจจุบันทำเขานั้นเป็นกังวลอย่างมาก เขาไม่อยากให้ประชากรส่วนใหญ่สูญเสียความสามารถในการนึกคิดไปเลย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในกา พัฒนาสักยภาพในการคิด และวิเคราะห์ เขาเสริมว่า “ผมเชื่อว่าสัญชาตญาณของมนุษย์เป็นเหมือนพลังวิเศษ ยิ่งเราใช้เครื่องมือเหล่านั้นคิดแทนเรามากแค่ไหน ก็เหมือนกับเรายิ่งจำกัดความสามารถของตนเองลงเรื่อย ๆ”
สิ่งที่เป็นที่โต้เถียงกันก็คือ การที่เครื่องมือเหล่านั้นมันสามารถช่วยทุ่นแรงเราได้ก็จริง แต่มันต้องแลกมากับอะไรหล่ะ มันกำลังสร้างเส้นทางสู่ความสำเร็จและความสมหวังทางประสาทวิทยา หรือมันจะทำให้เกิดช่องโหว่ไม่รู้จบในการแทนที่องค์ประกอบของมนุษย์ด้วยข้อมูลอุปาทานที่ไม่มีตัวตนกันแน่